top of page

 

Oblivion by Astor Pizzolla

   

   ถูกประพันธ์ขึ้นในปีคศ.1982 เป็นเพลงสำหรับแชมเบอร์มิวสิค เพลงนี้เป็นหนึ่งผลงานเพลงแทงโกที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ของเขา และเป็นที่โด่งดังขึ้นไปอีกเมื่อถูกนำมาประกอบภาพยนต์ของเรื่อง Henry IV, TheMad King กำกับโดยมาโคร เบนโลชิโอ เพลงนี้เป็นเพลงแทงโกที่ดีที่สุด และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้คนมากมาย อีกทั้งยังเต็มไปด้วยอารมณ์ที่แข็งแกร่งและที่ถ่วงทำนองที่สวยงาม เพลงนี้ต้องเล่นตามแบบแผนเพื่อให้ทำนองออกมาดีที่สุด เพลง oblivion เต็มไปด้วยความสวยงาม ความสง่างาม อีกทั้งยังโศกเศร้าไปพร้อมกัน จึงกลายเป็นผลงานที่ดีที่สุดของ แอสโทร ปิอาโซลา

https://sites.google.com/a/gapps.uwc.edu/mus-174-rck-sp11/astor-piazzolla--oblivion

 

Trumpet Concerto in Eb (I.Allegro, II.Largo, III.Vivace) by Johann Baptist Georg Neruda

   

   

   มีชื่อเดิมมาก่อนว่า Horn Concerto in E-flat major แต่งโดย โยฮัน บาพทิส จอร์จ เนรูดา เพลงนี้มีทั้งหมด 3ท่อน แต่ละท่อนจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                           I. Allegro

                           ท่อนแรกจะเป็นท่อนเร็ว(อัลเลโกร) ให้ความรู้สึกเหมือนการเปิดตัว แข็งแรงกระฉับกระเฉง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                           

                                                                         

                                                                           II. Largo

                                         ท่อน2 จะเป็นท่อนช้า(ลาโกร) ให้ความรู้สึกหวาน สบาย เรียบง่าย

                                                                                                 III.Vivace

                                ท่อน3(วิวาเช) จะกลับมาเร็วอีกครั้ง จะให้ความรู้สึกสนุกสนาน ร่าเริง มีชีวิตชีวา

    ทุกๆท่อนของเพลง จะอยู่ในบันไดเสียง Eb แสดงครั้งแรกในปีค.ศ. 1750 แสดงที่เดรสเดน ประเทศเยอรมัน แต่เดิมเพลงนี้แต่งให้ Corno da Caccia(ฮอร์นที่ทำจากเขาสัตว์) บรรเลง แต่ปัจจุบันใช้ทรัมเป็ทเล่นแทน เพลงของเขาเป็นที่รู้จักในปี 1750 ก็เป็นช่วงสิ้นสุดยุคบาโรกพอดี  เนรูดาไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากสักเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับนักประพันธ์คนอื่นๆ ก่อนหน้านี้เขาได้รับความนิยมในทางด้านนักไวโอลินและดนตรีในกรุงปรากและที่เยอรมนี หลังจากนั้นเขาก็กลายเป็นหัวหน้าวงของวงดุริยางค์ราชสำนักแห่งเมืองเดรสเดน

https://www.naxosmusiclibrary.com/sharedfiles/booklets/TUD/booklet-TUDOR7169.pdf

 

 

Sonata (I.Sarabane, II.Intermede, III.Spirituelle) by Jean Hubeau

   

    เพลงนี้ ฌอง อูโบ ได้เขียนตอนช่วงสงครามในฝรั่งเศส เต็มไปด้วยเสียงครึกโครมตลอดเวลา เพลงนี้มีทั้งหมด 3 ท่อน 

                           

                          ท่อนแรก Sarabande (เพลงเต้นรำของสเปน) เป็นท่อนหลอกหลอนที่นำไปสู่ท่อนต่อไป

                                  ท่อน Intermede เป็นท่อนที่มีการหยอกล้อ ล้อเลียน สนุกสนาน ตลกขบขัน

   และท่อนสุดท้าย Spirituelle เป็นท่อนเพลงบลูของฝั่งอเมริกา เขาประพันธ์เพลงนี้ขึ้นมาเพื่อสะท้อนอารมณ์ของผู้ฟังในยุคนั้น  เขาประพันธ์เพลงนี้โดยใช้เหตุผลประจวบกับการเล่าเรื่องโดยแบบสมบูรณ์

https://www.naxosmusiclibrary.com/sharedfiles/booklets/MAK/booklet-51280-MCD.pdf

https://www.naxosmusiclibrary.com/sharedfiles/booklets/NAC/booklet-8.554806.pdf

Libertango by Astor Pizzolla

    เพลงนี้ถูกจัดแสดงครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1974 ที่ประเมศมิลาน เพลงแทงโกที่เร้าร้อนมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสไตล์เพลงของ แอสโทร ปิอาโซลาจากแทงโกคลาสสิคเป็นนูโวแทงโก

    ในขณะที่ผู้คนยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า นูโวแทงโก แต่คุณสามารถรับรู้ถึงเพลงแทงโกคีตกวีชาวฝรั่งเศส ปิอาโซลาเขาได้ทำการเปลี่ยนแปลงเพลงแทงโกโดยผสมผสานระหว่างเพลงแจ๊สและเพลงคลาสสิกเข้าไปในเพลงแทงโกของเขา ไม่ต้องสบเลยว่าเขาจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแต่งเพลงแทงโก และเพลง Libertango ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานชิ้นสำคัญมากของเขา จังหวะเพลงที่เร้าร้อน เมโลดี้ที่ดุดันทำให้เพลงนี้เป็นหนึ่งบทเพลงอันดับต้นๆของแทงโกสมัยใหม่ และยิ่งไปกว่านั้นเขายังเพิ่มแอคคอเดียนเพื่อให้ได้กลิ่นอายของดนตรีพื้นบ้านอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

https://www.classicfm.com/composers/piazzolla/music/piazzolla-libertango/

ขอบคุณรูปสวยๆจาก : https://www.pexels.com 

Screen%20Shot%202562-12-19%20at%203.11_e
IMG_0412_edited.jpg
IMG_0413_edited.jpg
IMG_0414_edited.jpg
Screen%20Shot%202562-12-19%20at%204.16_e
Screen%20Shot%202562-12-19%20at%204.18_e
Screen%20Shot%202562-12-19%20at%204.42_e
Screen%2520Shot%25202562-12-19%2520at%25
bottom of page